ศาสตร์พระราชา
เศรษฐกิจพอเพียง
การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่คนไทยรู้จัก “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” พระราชทานเป็นแนวทางในการนำพาประเทศไทยให้ข้ามพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หรือ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ “ฟองสบู่แตก” จนหลายภาคส่วนน้อมนำหลักปรัชญานี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยอาจารย์ยักษ์ หรือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้เด็ดเดี่ยวตามรอยในหลวงให้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต ได้ศึกษาและเขียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาตลอดตั้งแต่ปี 2540 จวบจนทุกวันนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษา จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดย “มูลนิธิมั่นพัฒนา” ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2557
โครงการฝนหลวง จากฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนาสู่มหานที
วิธีทำฝนหลวงมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน คือการดัดแปรสภาพอากาศหรือก้อนเมฆในขณะนั้นเพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศ ชื้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบนอันเป็นการชักนำไอน้ำหรืออากาศชื้นเข้าสู่กระบวน การเกิดเมฆ ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน คือการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อทำให้เมฆเจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่หนาแน่นและพร้อมที่จะตกลงมาเป็นฝน ขั้นตอนที่ 3 โจมตีคือการดัดแปรสภาพอากาศที่จะกระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกันแล้วรวมตัว เข้าด้วยกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการลดแรงไหลพาขึ้นเบื้องบน เพื่อให้เม็ดน้ำ มีขนาดใหญ่ตกลงสู่เบื้องล่างแล้วเกิดเป็นฝนตกลงมาสู่เป้าหมาย
ฝายชะลอความชุ่มชื้น( Check Dam) หรือฝายแม้ว
ใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายในท้องถิ่นเช่นก้อนหินและไม้เพื่อก่อเป็นฝายขวางร่องน้ำหรือห้วยเล็กๆทำหน้าที่กักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลงและให้น้ำสามารถซึม ลงใต้ผิวดินสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น อีกทั้งยังช่วยดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง
แฝก
การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับเพื่อช่วยชะลอความชุ่มชื้นไว้ในดิน โดยรากของหญ้า แฝกจะขยายออกด้านข้างเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 50 เซนติเมตรและจะแทงลงไป เป็นแนวลึกใต้ดิน 1-3 เมตรแล้วสานกันเป็นแนวกำแพงดูดซับความชุ่มชื้นให้แก่ผิวดิน